Jump to content

Recommended Posts

Posted

From the cover of today's Matichon Weekend Edition comes the following

"ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งน้ำ"

I found in the Matichon dictionary a definition for "ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง" which defines this phrase as, "(สำ) ฝนตกหนักตอนปลายฤดู และเป็นช่วงย่างเข้าฤดูหนาว ใช้ในความเปรียบว่า ถึงเวลาที่ต้องแยกหรือลาจากกัน."

"(idiom) It rains hard during at the end of the end of the season and it is the period of time which is approaching the cool season. (This phrase) is used as a metaphor for 'the time is coming which we have to part or leave each other'."

One of the meanings of "สั่ง", by the way, is "to give parting instructions before one dies/leaves".

Does the variation "ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งน้ำ" carry the same meaning or is there a difference?

Would anyone like to try for a nice English version of this phrase that would work as a headline?

Thanks.

Posted

Hi David,

I think it carries the same meaning. I found this on this website:

http://www.parliament.go.th/news/news_detail.php?prid=148434

"ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งน้ำ"

แปลสำนวนไทยได้ความ "สั่งเสียเป็นครั้งสุดท้าย"

On this website you can find more information:

http://ecurriculum.mv.ac.th/elibrary/libra.../0210change.htm

๒. น้ำสั่งฟ้า ปลาสั่งฝน-ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งน้ำ๔

สำนวนเดิมใช้ "น้ำสั่งฟ้า ปลาสั่งฝน" ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น "ฝนสั่งฟ้าปลาสั่งน้ำ" ซึ่งสำนวนปัจจุบันน่าจะใช้คำได้ตรงความหมายว่า เพราะฝนเป็นสิ่งที่ตกจากฟ้า เมื่อตกมากจึงเปรียบเหมือน "ฝนสั่งฟ้า" ปลาเป็นสัตว์น้ำ เมื่อฝนตกก็จะกระโดดออกมาจากบ่อน้ำเก่า จึงเปรียบว่า "ปลาสั่งน้ำ"

And this:

http://www.aksorn.com/webguide/webguide_de...?content_id=757

๑๒.น้ำสั่งฟ้า ปลาสั่งน้ำ= สั่งเสียเป็นครั้งสุดท้าย = ทำการอันใดที่เป็นสิ่งสำคัญเพื่อไว้อาลัยก่อนจากไป * ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนองก็ว่า*

Posted

Yes, Chris, this is a reference to the same article. See the head note on the Parliament.go.th site that you refer to, "มติชนสุดสัปดาห์"-ใหม่ สมัคร สุนทรเวช ในวาระ"ฝนสั่งฟ้า". Thanks for that reference.

Posted

Sorry, I was a bit confused.

Is your question if the word สั่ง carries the meaning "to give parting instructions before one dies/leaves" in this expression?

Or is your question if the the expression carries the meaning 'the time is coming which we have to part or leave each other' in this text?

I am not sure but in the first case I think your question is more or less answered in the article.

Posted

This is from the book 'สนุกกับสุภาษิตคำพังเพย' by นิคม เขาลาด.

It might fun for anyone who is interested.

ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง

เมื่อจะว่าถึงสำนวน “ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง” ที่ขึ้นคำตัวโป้งไว้ข้างบนนี้แล้ว ก็ทำให้ผมนึกไปถึงสำนวนอีกอย่าง ซึ่งแสดงถึงฤดูเก็บเกี่ยว หรือใกล้จะเก็บเกี่ยวในแบบชาวบ้าน ๆ หรือชีวิตท้องทุ่ง นั่นก็คือ “เดือนสิบเอ็ดน้ำนอง เดือนสิบสองน้ำทรง” ซึ่งเป็นระยะหรือช่วงเวลาที่ต่อจากช่วงที่มี “ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง” ซึ่งเป็นสำนวนแบบไทย ๆ เหมือนกัน

ครับ “เดือนสิบเอ็ดน้ำนอง เดือนสิบสองน้ำทรง” ที่ผมเปรียบเปรยไปนี้ เขาใช้คำสำนวนกันยาวเฟื้อยเป็นว่า “เดือนสิบเอ็ดน้ำนอง เดือนสิบสองน้ำทรง เดือนอ้ายเดือนยี่ น้ำก็รี่ไหลลง” ซึ่งแต่โบราณน้ำในแม่น้ำลำคลองเป็นไปตามฤดูกาลเช่นนี้จริง ๆ แต่ปัจจุบันที่มนุษย์เราเบียดเบียนธรรมชาติจนย่อยยับไปหมดแล้วนี่ ไม่ใช่หยั่งงี้หรอกครับ ส่วนมากจะไหลหลั่งถั่งโถมเป็นอุทกภัย หรือไม่ก็แห้งแล้งเหลือแต่ผืนดินเป็นรอยระแหง จนมีศัพท์ใหม่ขึ้นว่า แล้งซ้ำซากซะทั้งนั้น

แล้วที่ว่า “ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง” ก็เช่นกัน ความสมดุลทางธรรมชาติเสียไปเพราะการเบียดเบียนของมนุษย์เรา ฝนฟ้าก้ไม่ตกต้องตามฤดูกาล น้ำและปลาตามห้วยหนองคลองบึงก็ไม่มีอย่างอุดมสมบูรณ์เหมือนเมื่อก่อน ทุกสิ่งทุกอย่างมันเกิดแปรปรวนหรืออาเพศไปหมดแล้วครับ ความที่ว่า “ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง” ก็เลยเป็นเพียงสำนวนที่มีความโบราณ จนบางคนในปัจจุบันอาจไม่รู้ว่ามันเป็นยังไงก็มี

ว่าถึง “ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง” นี้นะครับ ผู้ที่ไม่รู้ความไปใช้สำนวนกันว่า “ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งน้ำ” เพราะนึกถึงภาพพจน์และความเป็นไปในธรรมชาติเอาเองคือเหมาเอาว่า เมื่อฝนสั่งฟ้าแล้วจะเกิดความแห้งแล้ง แล้วปลามันก็รู้ตัวว่าจะต้องตาย ก็เลยสั่งน้ำไปพร้อม ๆ กับฝนฟ้าที่สั่งกัน

จะอ้างเหตุสนับสนุนเช่นไรก็ไม่น่าเห็นคล้อยหรอกครับ และ “ปลาสั่งน้ำ” นี้ นึกภาพยังไง ๆ ก็ไม่น่าจะเป็นไปตามนั้น นอกจากผู้ใช้สำนวนจะเบื่อคำดั้งเดิมที่มีมาแต่โบราณแล้วเปลี่ยนเป็นอย่างใหม่เอาตามความพอใจของตนมากกว่า

ไม่เหมือน “ปลาสั่งหนอง” ในสำนวน “ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง” ซึ่งถูกต้องทั้งสำนวนที่ผูกไว้ และตรงกับความเป็นไปของธรรมชาติ ทั้งฟ้าฝนและห้วยหนองคลองบึง กุ้งหอยปูปลา ต้องดูกันจนถึงชีวิตในท้องทุ่งครับ จึงจะเห็นภาพพจน์ที่ว่า “ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง” ว่าความเป็นมาและเป็นไปมันเป็นยังไง

ก่อนจะว่าถึง “ปลาสั่งหนอง” ก็ต้องว่าถึง “ฝนสั่งฟ้า” ปูพื้นซะก่อนครับ เพราะมันเกี่ยวเนื่องตามลำดับกัน

คือ “ฝนสั่งฟ้า” นั้น คือฝนฟ้าคะนอง หรือฝนห่าใหญ่ ซึ่งเป็นห่าสุดท้ายของหน้าฝน ก่อนที่จะกลายเป็นหน้าแล้งต่อไป แล้ว “ฝนสั่งฟ้า” ที่เป็นฝนฟ้าคะนองทิ้งท้ายหน้าฝนนี้ ก็มักจะมีฟ้าร้องครืน ๆ อยู่ไม่หยุด คล้ายจะเป็นการร่ำลาหน้าฝนซะด้วยสิครับ อันนี้ผู้ที่อยู่ตามท้องทุ่งสมัยก่อนเขาว่า ฟ้ามันร้องบอกให้ปูปลาลาหนอง คือให้ลงมาตามสายน้ำมาอยู่ในลำคลอง เพราะจะสิ้นฝนแล้ว

ซึ่งก็จริง เพราะช่วง “ฝนสั่งฟ้า” นี้ ชาวทุ่งเขาดักลอกหรือไซ จะหันทางปากขึ้นไปทางเหนือน้ำ เพื่อดักเอาปลาที่ลงมากับสายน้ำในช่วงนี้ กลับกันกับตอนต้นฝน คือ “ฝนเดือนหก” ที่เขาจะหันปากพวกเครื่องดักปลาลงไปตามน้ำ เพราะปลาจะทวนสายน้ำขึ้นมาในช่วงนี้

ว่ามาแค่นี้ก็เป็นที่รู้ครับ ว่า “ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง” มันเป็นยังไง คือฝนตกครั้งสุดท้ายตอนปลายหน้าฝนนั้น ฟ้าจะร้องครืน ๆ อยู่ตลอดเวลาของฝนตก คล้ายเป็นการสั่งลาหน้าฝน เรียกว่า “ฝนสั่งฟ้า” ขณะเดียวกัน ปลาซึ่งอยู่ตามหนองน้ำ มันก็รู้โดยธรรมชาติว่าจะสิ้นหน้าฝนแล้ว ก็จะลอยหรือตะเกียกตะกายลงไปกับกระแสน้ำสู่ลำห้วย เพราะอยู่ในนั้นต่อไปก็จะไม่มีน้ำให้อาศัยอยู่ เรียกว่า “ปลาสั่งหนอง”

เหล่านี้แหละ คือความเป็นมาและเป็นไปที่แสดงภาพพจน์ของสำนวนได้

“ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง” นี้ ความหมายในทางอุปมาคือ “การสั่งลาก่อนจาก” หรือ “การจากโดยมีการสั่งลา” ซึ่งก็คือจากกันโดยบอกให้รู้ ไม่ใช่จากไปเฉย ๆ โดยไม่มีปี่มีขลุ่ยนั่นแหละนะ

แต่สำนวนนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า ถ้วยสำนวนที่เขาใช้ ๆ กันส่วนมากจะเป็นว่า “ฝนยังสั่งฟ้า ปลายังสั่งหนอง” เป็นสำนวนที่เขาใช้ตัดพ้ออีกฝ่ายว่า “ทำไมจากไปโดยไม่มีคำร่ำลา?” เท่านั้นเองครับ

ดูความหมายที่บ่งไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานด้วยว่า “ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง” นี้คือ “สั่งเสียครั้งสุดท้าย” กับ “ทำการอันใดที่เป็นสิ่งสำคัญเพื่อไว้อาลัยก่อนจากไป” และว่า “น้ำสั่งฟ้า ปลาสั่งฝน” ก็ว่า ด้วยครับ

แล้วก็สำนวนของฝรั่งมั่ง คือ forerun leave-taking ความก็ว่า “การอำลาโดยบอกล่วงหน้า” เป็นสำนวนที่ผูกขึ้นเพื่อให้ได้ความหมายไปด้วยกันได้กับสำนวนของไทยเราเท่านั้นเอง

Posted

Whew!, Khun Yoot,

Thank you for that explanation. The author certainly goes a long way to make his point!

It seems that there is a difference, after all, between the construction of the two phrases, " ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง" and " ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งน้ำ". The author explains that in the second phase, the fish know of their iminent demise, as does the last rain of the season. In the first phrase, the fish, sensing the end of the rain, find their way to larger streams so they might survive the drought.

Kris,

Thank you for those references.

Whatever the source or original articulation of these phrases, the figurative meaning of the idiom remains, "a person who is about to pass away provides final instructions to those who remain behind regarding his funeral."

The Thai language is sure full of agricultural metaphors, certainly expected given its population.

Thanks again to both of you.

Posted

Hi David,

The reason I didn't understand your question is because I didn't read it well. I didn't notice ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง and thought you were just taking about one and the same expression.

Thanks Yoot for the long explanation.

Create an account or sign in to comment

You need to be a member in order to leave a comment

Create an account

Sign up for a new account in our community. It's easy!

Register a new account

Sign in

Already have an account? Sign in here.

Sign In Now
  • Recently Browsing   0 members

    • No registered users viewing this page.



×
×
  • Create New...